วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คุณรับมือกับความแตกต่างหลากหลายยังไง???...
ผู้ที่เรียนวิชาครูหรือที่เรียกขานกันในปัจจุบันว่าวิชาการทางการศึกษา เชื่อว่าคงเคยได้ยินชื่อ นักการศึกษาชาวอเมริกา จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) กันบ้าง นักการศึกษาชาวอเมริกันนี้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการศึกษาไว้หลายเล่มและได้รับการนำมาใช้ในสถาบันฝึกหัดครูหลายแห่งนับว่าเกือบทั่วโลกได้ แม้จะเขียนหนังสือหลายเล่มและเสนอแนวคิดมากมายแต่ผู้ที่อ้างถึงกันมากมีอีกเรื่องหนึ่งที่ฮิตติดปาก คือ แนวคิดเรื่อง ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual difference) ที่เน้นว่าเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งด้านสติปัญญา ด้านความถนัด ด้านความรู้สึกนึกคิด ด้านวัฒนธรรม ฯลฯ การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลนั้นเป็นสิ่งที่ครู พ่อแม่หรือผู้ปกครองจำเป็นต้องคำนึงให้มาก มิฉะนั้นเด็กก็ไม่สามารถเรียนรู้ได้เสมอภาคกัน และที่ยิ่งไปกว่านั้นก็อาจทำให้ครูหรือพ่อแม่บางคนถึงขั้นรู้สึกลำเอียงต่อผู้เรียนอีกด้วย
ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นครูใหม่ประสบการณ์น้อย มีโอกาสสัมผัสกับโรงเรียนประจำจังหวัด ขนาดใหญ่พิเศษที่มีชื่อเสียง สิ่งหนึ่งที่ยังคงต้องอาศัยประสบการณ์ในการแก้ปัญหาในการจัดการเรียน การสอนนั่นคือการก้าวย่างแห่งการเรียนรู้ที่กับผู้เรียนแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน บางคนก้าวเร็ว บางคนก้าวช้า ในขณะที่คิดว่าเราต่างก้าวกันตามปกตินั่นแหละ ตัวอย่างเช่นการสอนการแก้โจทย์ปัญหาในเรื่องเซต นักเรียนบางคนใช้เวลาเพียง 5 นาที เสร็จอธิบายได้ บางคนใช้เวลานานหน่อยกว่าจะเข้าใจรู้เรื่อง อาจจะใช้เวลา 10 นาที 15 นาที หรืออาจถึง ครึ่งชั่วโมง แต่บางคนไม่คิดไม่เอาอะไรเลย มองเผินๆอาจจะดูไม่ใช่ปัญหาอะไรมาก แต่ผู้เขียนคิดว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่พอควร ปัญหามันเกิดขึ้นก็เพราะว่าการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นมีจำนวนนักเรียนมากในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวนนักเรียนที่ผู้เขียนสอนเฉลี่ยห้องละ 50 คน ต่างจำกัดด้วยเวลาเพียง 50 นาทีต่อคาบ กว่าจะพร้อมนำเข้าสู่บทเรียนให้นักเรียนคิดคล้อยตาม หายเหนื่อยจากการเปลี่ยนชั่วโมงเรียน เริ่มสอนได้จริงๆเหลือเพียงครึ่งชั่วโมง และเมื่อหมดเวลานักเรียนก็เปลี่ยนคาบไปเรียนวิชาอื่น เด็กที่มีจังหวะก้าวย่างในการเรียนรู้ช้า อาจจะยังไม่ทันรู้เรื่อง และที่ไม่รู้เรื่องอาจจะมิใช่สมองเขาไม่ดี (I.Q.ต่ำ) หรือโง่ แต่อาจเป็นเพราะว่าเด็กคนนั้นต้องการเวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยก็จะรู้เรื่อง ทั้งครูผู้สอนเองในช่วงต้นๆก็ยังคงจะถ่ายทอดหรือให้ความรู้แก่นักเรียนที่ไม่ทั่วถึง ด้วยที่ว่าครูหนึ่งคนต่อนักเรียนห้าสิบคน นักเรียนแต่ละคนย่อมเรียนรู้ในสิ่งต่างๆที่แตกต่างกันครูอาจดูแลไม่ทั่วถึง อีกในบางครั้งบางห้องก่อนเรียนวิชาคณิตศาสตร์นักเรียนเรียนวิชาพละศึกษามาในช่วงบ่าย เหงื่อนักเรียนม.ปลายเยอะไหลอาบหน้า อากาศก็ร้อน เสื้อเปียก กลิ่นรองเท้าที่ฉุน และสภาพห้องเรียนที่มีนักเรียนแออัด สภาพแวดล้อมที่ยังไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ แล้วครูที่มีประสบการณ์เยอะๆท่านจัดการกับความแตกต่างตรงส่วนนี้อย่างไร ถึงจะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในวิชาของท่านได้อย่างถ่องแท้
การตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเด็กมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ ได้เริ่มเป็นสิ่งที่ท้าทายให้ผู้เรียนได้คิดหาวิธีการแก้ปัญหา เพราะคิดว่าเราจะตระหนักอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ถ้าไม่ปรับปรุงวิธีการเรียน การสอนแบบใหม่ ให้เหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มนี้ ผู้เขียนเชื่อว่ามีจำนวนคุณพ่อ คุณแม่ คุณครูและผู้ใหญ่ในวงการศึกษาหลายคนมองเห็นประเด็นนี้ ได้หาทางแก้ไขกลวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ความสามารถและภูมิหลังของเด็กที่แตกต่าง แต่บางทีบางครั้งผู้เขียนยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด จะเห็นว่ากระแสโลกในทุกวันนี้มีแนวโน้มเอียงยอมรับความเหมือนที่มากกว่าความต่างโดยเฉพาะสังคมไทยที่เลี้ยงดูกันแบบพี่ๆน้องๆมีการแบ่งปัน ถ่ายเทกันได้ แต่หากตอกย้ำความเหมือนมากจนเลยเถิดก็จะเป็นสิ่งที่ธรรมชาติ เพราะทั้งนี้ธรรมชาติที่แท้จริงนั้นประกอบด้วยความหลากหลายและความแตกต่าง แต่ในความหลากหลายนั้นก็มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่าสมดุล ไม่มีความหลากหลายที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างลงตัว ก็ย่อมไม่เป็นธรรมชาติ และอะไรไม่เป็นธรรมชาติก็ไม่ปกติ การเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ก็ย่อมเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ปกติไม่รู้จริงนั่นเอง
ถึงแม้ว่า ณ ตอนนี้มีหลายคนทั้งสภาผู้แทนราษฎร ครู –อาจารย์ และพ่อแม่ต่างได้เข้าร่วมมีบทบาทออกพระราชบัญญัติการศึกษาพิจารณากันในประเด็นที่ว่าความแตกต่างและความเหมือนหรือความคับแคบกับความหลากหลาย เช่น แง่ของสิทธิ์ในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอน ต่างบริบทวิชา ต่างครู ต่างประสบการณ์ ต่างการวัดผลประเมินผล หลากหลายในเนื้อหาสาระ เกณฑ์การพิจารณาการจัดการเรียนการสอนอยู่ที่ใด ลักษณะเช่นนี้ผู้เขียนเชื่อว่าคงเกิดขึ้นกับครูหลายคน หลายโรงเรียนและผู้เขียนหวังอย่างยิ่งว่าคงมีการจัดการกับข้อจำกัดดังกล่าวไปในทิศทางที่ดี มิใช่เพียงปล่อยทิ้งให้เป็นภาระของสังคมต่อไป หาแนวทางที่ยอมรับเกิดผลประโยชน์กับผู้เรียนสูงที่สุด เพื่อให้ลูกหลานรุ่นต่อๆไปในสังคมไทยได้ยอมรับความแตกต่างและความเหมือนจะได้ไม่เป็นปัญหาในสังคมไทยเช่นในปัจจุบันนี้....




ผู้เขียน
....นางสาวณัฐหทัย มูลทา รหัสประจำตัว 53671430107 วท.ม.ค.ศ.4 คณิตศาสตร์ศึกษา

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Paradox

ข้อความนี้ไม่เป็นประพจน์” ประโยคนี้เป็นประโยคที่นักศึกษาห้อง วทม.คศ.4 กลุ่มหนึ่ง ได้นำเสนอในหัวเรื่อง ตรรกศาสตร์ ท่านถามว่า “ข้อความนี้ไม่เป็นประพจน์” เป็นประพจน์หรือไม่ ( ประพจน์ คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่มีค่าความจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง ) ซึ่งเป็นคำถามที่ดีที่ต้องใช้คณิตพิจารณานานพอสอควร ร่วมกับเพื่อนร่วมห้องและอาจารย์ผู้สอน จากนั้นก็ได้ข้อสรุป ว่า ประโยคนี้ “ข้อความนี้ไม่เป๋นประพจน์” เป็น ปฏิทรรศน์ หรือ พาราด็อกซ์
ปฏิทรรศน์ หรือ พาราด็อกซ์ (
อังกฤษ: Paradox) คือ ประโยคหรือกลุ่มของประโยคที่เป็นจริงอย่างชัดเจน แต่นำไปสู่ ความขัดแย้งในตัวเอง หรือสถานการณ์ที่อยู่นอกความคิดทั่วไป โดยทั่วไปแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ประโยคดังกล่าวนี้แท้จริงแล้วอาจไม่ได้นำไปสู่สภาวะขัดแย้ง ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ใช่ข้อขัดแย้งจริง ๆ หรือข้อกำหนดในตอนต้นอาจไม่จริงหรือไม่สามารถเป็นจริงพร้อม ๆ กันได้ คำว่าปฏิทรรศน์หรือพาราด็อกซ์มักถูกใช้แทนที่ไปมากับคำว่า ข้อขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม แนวคิดทั้งสองนั้นไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ในขณะที่ข้อขัดแย้งประกาศสิ่งที่ตรงกันข้ามกับตัวเอง หลาย ๆ ปฏิทรรศน์กลับมีทางออกหรือคำอธิบาย ตัวอย่างประโยคที่เป็น Paradox เช่น
- ปัญหาว่า เราไม่สามารถวิ่งแข่งแซงเต่าได้ โดยต่อให้เต่าอยู่ในตำแหน่งข้างหน้า พิจารณาเมื่อเราเดินทางไปอยู่ที่ตำแหน่งเดิมของเต่า เต่าก็เปลี่ยนตำแหน่งไปข้างหน้าเสียแล้ว
-
กระต่ายจะมีโอกาสวิ่งแซงเต่าหรือเปล่า ? (posted on 27 May 2009 by nookniss in Mathematics )
- ถ้าเราเติมน้ำทีละหยดๆ ลงในถังใบหนึ่งที่บรรจุไวน์แดงไว้ ในขณะที่เติมน้ำทีละหยดก็จะมีการกวนของเหลวในถังนั้นไปด้วย พร้อมกับมีก๊อกเปิดของเหลวที่อยู่ในถังนั้นออกมาให้ชิมได้ ปัญหาคือเราสามารถหาน้ำหยดสุดท้ายที่ทำให้ของเหลวที่เราชิมเปลี่ยนรสชาติจากไวน์แดงมาเป็นน้ำได้หรือเปล่า???
- "A จริง และ A เป็นเท็จ"
- "ประโยคนี้เป็นเท็จ"
- เมืองหนี่งมีช่างตัดผมอยู่หนึ่งคน เค้าตัดผมให้ทุกคนที่ไม่ได้ตัดผมให้กับตัวเอง ถามว่าใครตัดผมให้กับช่างตัดผม?
- ถ้าคนเป็นนักวิ่ง กำลังวิ่งแข่งขัน ถ้าคุรวิ่งแซงคนสุดท้ายคุณจะเป็นคนที่เท่าใด
- มีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบการหยุดของโปรแกรมรึเปล่า
- "เราไม่สามารถดึ่มเหล้าในแก้วที่ละครึ่งได้" หรือ "กัดกล้วยกินที่ละครึ่งไม่สามารถหมดทั้งลูกได้"
- "I have found the paradox that if I love until it hurts, then there is no hurt, but only more love." (แม่ชีเทเรซา )
- "you cannot step twice into the same river." ( เฮราคลิทุส )
- ข้ออ้าง 1: จำนวน 1 เป็นจำนวนน้อย
ข้ออ้าง 2: ถ้าจำนวน 1 เป็นจำนวนน้อย จำนวน 2 ก็เป็นจำนวนน้อย
ข้ออ้าง 3: ถ้าจำนวน 2 เป็นจำนวนน้อย จำนวน 3 ก็เป็นจำนวนน้อย …
ข้ออ้าง 100,000: ถ้าจำนวน 99,999 เป็นจำนวนน้อย จำนวน 100,000 ก็เป็นจำนวนน้อย
ข้อสรุป: จำนวน 100,000 เป็นจำนวนน้อย
- ถ้าไม่มีทรายเลยแม้แต่หนึ่งเม็ด เราก็ย่อมก่อกองทรายไม่ได้ หากเรามีทรายเพิ่มขึ้นมาอีกเพียงหนึ่งเม็ด เราก็ไม่สามารถก่อกองทรายขึ้นมาได้จากอะไรที่ไม่ใช่กองทรายอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่อาจมีใครก่อกองทรายขึ้นมาได้
- สมมติว่ามีฝาแฝด 2 คน คือ ขาว และเขียว โดยทั้งสองคนนี้สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับอวกาศ และเมื่อโตขึ้นก็ได้ทำงานในองค์การอวกาศทั้งคู่ โดยขาวเฝ้าประจำอยู่ที่ถานีอวกาศบนโลก (จำง่ายๆ แบบเกือบคล้องจองว่า ‘ขาวเฝ้าบ้าน’) ส่วนเขียวนั้นโชคดีมีโอกาสเดินทางไปในอวกาศด้วยยานอวกาศความเร็วสูง เพื่อสำรวจดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไปหลายปีแสง (จำง่ายๆ แบบคล้องจองว่า ‘เขียวท่องเที่ยวไป’) จากนั้นก็กลับมายังโลก ( ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ) เป็นต้น
(นายวุฒิศักดิ์ เจินยุหะ เลขที่ 3 วทม.คศ.4 )

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มือใหม่หัดสอน...กับเด็กอ่อนคณิตศาสตร์

........................“กล้วยไม้ออกดอกช้า.............ฉันใด
............ ............การศึกษาเป็นไป...................ฉันนั้น
.........................แต่ออกดอกคราวใด..............งามเด่น
.........................การศึกษาปลูกปั้น.................เสร็จแล้วแสนงาม “
...........................................................................( มล.ปิ่น มาลากุล )
.........จากอดีตถึงปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากวิชาคณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นนามธรรมและเนื้อหาบางตอนก็ยากที่จะอธิบายให้เด็กเข้าใจต้องใช้ความคิดอย่างสมเหตุสมผลจึงจะเรียนรู้และเข้าใจโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ได้ (สมจิต ชีวปรีชา;อ้างใน นพวรรณ มงคลนพเก้า. 2545 : 46-47)
.........จากการประเมินผลการศึกษาระดับชาติพบว่าเด็กไทยมีผลการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำทุกปีและมีผลการเรียนอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ นักเรียนคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่เป็นการเรียน.การสอนจึงมีลักษณะเป็นการเลียนแบบนักเรียนทำแบบฝึกหัดหรือทำการบ้านไม่ได้ นักเรียนไม่สนใจและไม่ตั้งใจเรียน นักเรียนส่วนมากwม่มีทักษะในการคิดคำนวณ และไม่มีทักษะในการคิดแก้ไขปัญหาคณิตศาสตร์ อันมีสาเหตุมาจาก องค์ประกอบดังนี้
..............1. ด้านนักเรียน สาเหตุที่เด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์ เกิดจากนักเรียนไม่ชอบคิด ไม่ชอบแก้ปัญหา ขาดการฝึกฝนและทบทวนด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ
.............2.ด้านผู้ปกครองผู้ปกครองมีการศึกษาน้อยเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์และไม่สนับสนุนหรือเอาใจใส่การเรียนของนักเรียน
.............3.ด้านหลักสูตรสาเหตุที่เด็กไทยอ่อนคณิตศาสตร์อันเนื่องมาจาก สื่อการสอนและเครื่องอำนวยการสอนไม่เพียงพอ
.............4.ด้านครูผู้สอน ได้แก่ ครูสอนไม่ดี อธิบายไม่รู้เรื่อง ครูดุ เจ้าอารมณ์ ครูไม่เข้มงวดในการทำการบ้าน ครูสอนจริงจังบรรยากาศเครียดขาดอารมณ์ขัน ครูไม่อดทนที่จะอธิบายให้เด็กเข้าใจ ครูไม่ใช้สื่อ การสอนเพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจ ครูให้นักเรียนอ่านเองสรุปเองแล้วมาสอบ วิธีสอนของครูไม่น่าสนใจ ครูมีความรู้ไม่ดี ขาดความมั่นใจตนเอง ครูไม่จบสาขาวิชาคณิตศาสตร์โดยตรง ครูไม่เปิดใจกว้างให้นักเรียนตอบอย่างอิสระครูขาดแรงจูงใจ ครูสอนโดยไม่เน้นการคิดแก้ปัญหาและไม่เน้นการนำไปใช้ในชีวิตจริงครูมีภาระงานที่รับผิดชอบในโรงเรียนมากไป
.......สำหรับผู้เขียนในฐานะที่เป็นคุณครูใหม่คนหนึ่งซึ่งมีประสบการณ์ในการสอนเพียงหนึ่งปีเศษๆ และแม้ว่าข้าพเจ้าจะเป็นครูที่เรียนผ่านหลักสูตรครู 5ปี (ครูพันธ์ใหม่)ซึ่งหลักสูตรนี้จะจัดให้มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1ปีเต็มๆเพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการสอนและการปรับตัวให้คุ้นเคยกับบริบทในสถานศึกษา ซึ่งก็ถือว่าทำให้ตนเองมีความมั่นใจและความพร้อมในการเป็นครูมืออาชีพท่ามกลางความคาดหวังของสังคม
......เมื่อข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้ปฏิบัติหน้าที่ครูอย่างเต็มตัว ในตำแหน่งที่ถูกเรียกขานกันว่า.. “ครูผู้ช่วย” ในโรงเรียนขยายโอกาสขนาดกำลังน่ารักโรงเรียนหนึ่ง ดูเหมือว่าทุกอย่างช่างตรงข้ามจากโรงเรียนที่ตนเองฝึกสอนโดยสิ้นเชิง ทั้งขนาดสิ่งปลูกสร้าง จำนวนครูและนักเรียน จนกระทั่งเครื่องอำนวยความสะดวกต่อ การจัดการเรียนการสอน แต่ด้วยความเป็นครูที่อยู่เปี่ยมล้นก็ทำให้มีกำลังใจและบอกกับตนเองว่าต้องทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุด และเมื่อได้เริ่มสอนไประยะหนึ่งจึงได้ค้นพบว่านักเรียนกว่าร้อยละ 80 ขาดความรู้ พื้นฐานและแบบรูปทางคณิตศาสตร์ ทำให้ยากในการต่อยอดความรู้ จนในบางครั้งเกิดความท้อแท้ใน การสอน และหาทิศทางในการสอนไม่ได้ ถ้าหากจะกลับไปฟื้นความรู้ในเนื้อหาเดิมก็จะทำให้มีเวลาไม่พอที่จะสอนให้ครบตามหลักสูตร หากจะเดินหน้าต่อก็ดูติดๆขัดๆ ข้าพเจ้าจึงได้ใช้เวลาหนึ่งปีที่ผ่านมาลองผิดลองถูกจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จนได้แนวทางที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนคณิตศาสตร์ท่านอื่นๆบ้าง จึงขอนำเสนอพอสังเขปดังนี้
............1. การรู้จักข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลไม่ว่าจะเป็นด้านข้อมูลพื้นฐานทางครอบครัว บุคลิกลักษณะของครูที่นักเรียนชอบ รูปแบบการเรียนการสอนที่นักเรียนชอบ เนื้อหาที่ชอบ ความถนัด เป็นต้น (เมื่อได้ข้อมูลแล้วให้นำมาวิเคราะห์ด้วยนะค่ะ)
...........2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งหมายถึงความแตกต่างทางกายภาพ ลักษณะนิสัย และความแตกต่างต่างทางสติปัญญา
...........3. การออกแบบแผนการจัดการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับความสามารถและสภาพแวดล้อมของผู้เรียนและสำหรับนักเรียนที่มีความต่างจากเพื่อมากๆ หรืออาจเป็นเด็กที่มีความบกพร่องหรือเด็กพิเศษ ครูควรออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคล (IEP) ได้จะดีมาก
..........4. จัดกิจกรรมที่หลากหลายและให้นักเรียนมีส่วนร่วมและได้เคลื่อนไหวในขณะเรียน มีการสนทนาโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งตรงนี้ครูไม่ควรใจร้อนด่วนสรุปคำตอบ ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนคิดบ้าง (หรืออาจติดค้างข้ามคืนไว้บ้างก็ดีเหมือนกันนะค่ะ)
..........5.การให้แบบฝึกหัดหรือการบ้านที่เริ่มจากง่ายๆและไม่ยากเกินไปกว่าความสามารถของนักเรียนซึ่งตรงนี้จะทำให้เด็กเกิดความภูมิใจในตนเองและมีกำลังใจที่อยากจะทำเรื่องอื่นๆ....ต่อไป
..........6.การให้คำชม กำลังใจ และการเสริมแรง จะทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเองและมั่นใจในตนเองมากขึ้น
..........7. การตรวจงานอย่างสม่ำเสมอและแจ้งผลการประเมินทุกครั้ง เพราะเป็นการแสดงซึ่งความเอาใจใส่ของครูที่มีต่อนักเรียน และเมื่อเห็นจุดที่นักเรียนทำผิดควรแก้ให้ด้วย ไม่ใช่ว่าขีดถูกๆๆอย่างเดียวรวมถึงให้ความสำคัญกับความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานด้วย
.........8. ความจริงใจและความเอาใจใส่จากครู อันนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งจะทำให้ครูได้ใจนักเรียนมากที่สุด หลังจากสอนเสร็จแล้วครูไม่ควรสั่งงานแล้วรีบเดินหนีจากห้องไป ในขณะที่นักเรียนทำแบบฝึกหัดครูควรเดินดูนักเรียนทำงาน คอยสอบถามให้ข้อเสนอแนะ สร้างความคุ้นเคย เพราะบางทีเด็กๆอาจจะติดขัดในบางขั้นตอน ซึ่งเมื่อเขาไปต่อไม่ได้หรือไม่ได้รับคำแนะนำจะทำให้นักเรียนไม่อยากทำต่อและยากที่จะเรียนในคาบต่อไปได้ดี และสำหรับเด็กๆที่เรียนอ่อนด้วยแล้วยิ่งขาดความกล้าที่จะถามครูเมื่อเกิดความสงสัย ดังนั้นครูจึงควรเป็นฝ่ายเดินเข้าหานักเรียนก่อน แล้วหลังจากนั้นเด็กๆจะค่อยๆมั่นใจใน ตนเองจะมีความกล้าที่จะแสดงออกความคิดเห็นมากขึ้นทีละนิด จนในบางทีครูอาจจะค้นพบเพชรในตม ก็เป็นได้
.............จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงแนวคิดที่ได้จากประสบการณ์บางส่วนของครูน้อยคนหนึ่งเท่านั้น สำหรับงานการสอนของครูคณิตศาสตร์อย่างเราๆนั้น ยังมีรายละเอียด หลักการ...วิธีการ อีกมากหมายนักซึ่งเราไม่สามารถสรุปได้ว่าวิธีการสอนใดดีที่สุด แต่เรารู้ดีว่าจะสอนอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อศิษย์


ผู้เรียบเรียง : นางสาวอุไรวรรณ์ ศรีชาติ นักศึกษาปริญญาโท สาขาคณิตศาสตรศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี , 1 ตุลาคม 2553

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การวัดและประเมินผลคณิตศาสตร์

ความหมายของการวัดผล การทดสอบทางการศึกษาและการประเมินผล
การวัดผล (Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นกำหนดเป็นตัวเลขซึ่งเป็นปริมาณที่มีความหมายแทนคุณภาพ

ลักษณะการวัดทางการศึกษา
บลูม (Bloom) และคณะ (อ้างถึงใน พร้อมพรรณ อุดมสิน 2538 : 23) ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
1.วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด (วัดด้านสติปัญญาและสมอง) แบ่งเป็น 6 ระดับ ด้านพฤติกรรมง่ายไปสู่พฤติกรรมที่ยากซับซ้อน คือ ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์
การสังเคราะห์ และการประเมินผล
2.วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด (วัดด้านจิตใจ) แบ่งเป็น 5 ระดับ ด้านพฤติกรรมง่ายไปสู่พฤติกรรมที่ยากซับซ้อน คือ การรับการตอบสนอง การให้คุณค่าการจัดระบบ ค่านิยมและการสร้างลักษณะนิสัย 3. วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
แบ่งทักษะที่สำคัญออกเป็น 2 อย่าง คือ ทักษะทางสมอง และทักษะในการกระทำ

หลักการวัดผลการศึกษา
1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล
1) การสังเกต (Observation)
2) การสร้างแบบทดสอบชนิดต่าง ๆ
- ข้อสอบอัตนัยหรือความเรียง (Subjective or Essay Test

- ข้อสอบแบบกาถูก-ผิด (True - false Test
- ข้อสอบแบบเติมคำ (Completion Test
- ข้อทดสอบแบบตอบสั้น ๆ (Short Answer Test
- ข้อสอบแบบจับคู่ (Matching Test)
- ข้อสอบเลือกตอบ (Multiple Choice Test)

สื่อการสอนคณิตศาสตร์




ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอน
คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
ยุพิน พิพิธกุล(2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ
2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่น
โปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น

แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ

หลักการสอนคณิตศาสตร์

1. สอนโดยคำนึงถึงความความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของนักเรียน ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และพร้อมในแง่ความรู้พื้นฐานที่จะมาต่อเนื่องกับความรู้ใหม่ โดยครูต้องทบทวนความรู้เดิมก่อนแล้วเชื่อมโยงสู่ความรู้ใหม่ จะช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนได้ดี
2. ควรสอนเป็นลำดับขั้นตอน เริ่มจากตัวอย่างที่ง่าย ๆ แล้วเพิ่มขีดความยากขึ้นตามความเหมาะสม จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม มีการแสดงตัวอย่างให้เด็กดูอย่างช้า ๆ เพื่อให้เด็กเข้าใจอย่างแท้จริง
3. ในการสอนแต่ละครั้งต้องตั้งเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ชัดเจนว่าต้องการให้เด็กเกิดคุณลักษณะอย่างไรบ้าง
4. ปรับเปลี่ยนรูปแบบ วิธีการสอนคณิตศาสตร์ให้สนุก น่าสนใจ ไม่ซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย ซึ่งอาจจะมีกลอน เพลง เกม การเล่าเรื่อง ฝึกประลองสมอง การแข่งขัน โครงงาน ค่ายคณิตศาสตร์ เรียนนอกสถานที่ บูรณาการกับวิชาอื่น การ์ตูน ปริศนา CAI ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัว การทำงานเป็นทีม/กลุ่ม เป็นต้น ทุกวันนี้หากทำอะไรดีงามโดยไม่มีการปรุงแต่งคนก็ไม่สนใจ ไม่เหมือนอบายมุขที่ไม่ต้องปรุงแต่งมากคนก็วิ่งเข้าหา
5. ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการยืดหยุ่นทั้งเวลาที่ใช้สอน ควรใช้ระยะเวลาพอสมควรไม่นานจนเกินไป เน้นให้เด็กได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติจริง ค้นพบด้วย
ตนเอง มีอิสระใน การทำงาน
6. ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับครูผู้สอนในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะจะช่วยให้ครูเกิดความมั่นใจในการสอน และเป็นไปตามความต้องการของนักเรียน เมื่อเกิดความพอใจทั้งสองฝ่าย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
7. ครูต้องรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์แก้ปัญหา นำไปสู่การทำวิจัยในชั้นเรียนต่อไป
8. ครูควรมีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ได้มาตรฐาน ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ เช่นการสังเกต แบบทดสอบ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ เป็นต้น
9. สอนให้สัมพันธ์กับความคิด เมื่อครูจะทบทวนเรื่องใดก็ควรทบทวนให้หมด การรวบรวมเรื่องที่เหมือนกันเข้าเป็นหมวดหมู่หรือสัมพันธ์กัน จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น
10. การนำเข้าสู่บทเรียนให้น่าสนใจ โดยใช้ความสนใจของนักเรียนเป็นจุดเริ่มต้น เป็นแรงดลใจที่จะเรียน เป็นการดึงดูดความสนใจและเตรียมพร้อมที่จะเรียนต่อไป
11. สอนให้ผ่านประสาทสัมผัส ผู้สอนอย่าพูดเฉย ๆ โดยไม่ให้เห็นตัวอักษร ไม่เขียนกระดานดำเพราะการพูดลอย ๆ ไม่เหมาะกับวิชาคณิตศาสตร์ มีสื่อประกอบการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
12. ไม่ควรเป็นเรื่องที่ยากเกินไป ผู้สอนบางคนชอบให้โจทย์ยาก ๆ เกินหลักสูตร ซึ่งอาจทำให้นักเรียนที่เรียนอ่อนท้อถอย แต่ถ้าผู้เรียนที่เรียนเก่ง ก็อาจจะชอบ ควรส่งเสริมเป็นรายบุคคล การสอนต้องคำนึงหลักสูตรและเนื้อหาที่เพิ่มเติมให้เหมาะสม
13. เด็ก ๆ มีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น มีความสามารถในการอธิบายแนวคิดให้กับเพื่อน ๆ ได้ การเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีไม่ใช่แค่การหาคำตอบถูกต้องเท่านั้น
14. เน้นความเข้าใจมากกว่าให้เด็กจำ เพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและคงทน
15. ใช้วิธีอุปนัยในการสรุปหลักเกณฑ์ของบทเรียนและนำความรู้ไปใช้ด้วยวิธีนิรนัย
16. ครูและระบบการเรียนการสอนต้องเอื้อให้เด็กรู้สึกอิสระ มีความเป็นกันเองเด็กจะได้กล้าถามข้อสงสัย มีอารมณ์ขัน มีความกระตือรือร้น หมั่นแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่แสมอ

จิตวิทยาการเรียนรู้

ความหมายของการเรียนรู้

การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือกระบวนการเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้
1) ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
2)ด้านจิตพิสัย (Affective Domain ) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
3)ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ

องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1) แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
2)สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
3)การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
4)การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
2. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
3. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)

ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง ทฤษฎีการเรียนรู้ พอสังเขป ดังนี้
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)
B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ (Operant Behavior) สกินเนอร์ได้แบ่ง พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบ คือ
1. Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
2. Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด หรือเลือกที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน เช่น กิน นอน พูด เดิน ทำงาน ฯลฯ.
การเสริมแรงและการลงโทษ
การเสริมแรง (Reinforcement) คือการทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรง (Reinforce) ที่เหมาะสม การเสริมแรงมี ๒ ทาง ได้แก่
1. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement ) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
2. การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
การลงโทษ (Punishment) คือ การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมลดลง การลงโทษมี 2 ทาง ได้แก่
1. การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่บุคคลที่ไม่พึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
2. การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) เป็นการนำสิ่งเร้าที่บุคคลพึงพอใจ หรือสิ่งเสริมแรงออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike's Connectionism Theory)
Edward L. Thorndike (1874 - 1949) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็น"บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา" เขาเชื่อว่า "คนเราจะเลือกทำในสิ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่พึงพอใจ" จากการทดลองกับแมวเขาสรุปหลักการเรียนรู้ได้ว่า เมื่อเผชิญกับปัญหาสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก (Trial and Error) นอกจากนี้เขายังให้ความสำคัญกับการเสริมแรงว่าเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
1. กฎแห่งผล (Law of Effect) มีใจความสำคัญคือ ผลแห่งปฏิกิริยาตอบสนองใดที่เป็นที่น่าพอใจ อินทรีย์ย่อมกระทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีกและผลของปฏิกิริยาใดไม่เป็นที่พอใจบุคคลจะหลีกเลี่ยงไม่ทำปฏิกิริยาซ้ำอีก
2. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) มีใจความสำคัญ ๓ ประเด็น คือ
2.1 ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วได้เรียน อินทรีย์จะเกิดความพอใจ
2.2 ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วไม่ได้เรียน จะเกิดความรำคาญใจ
2.3 ถ้าอินทรีย์ไม่พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วถูกบังคับให้เรียน จะเกิดความรำคาญใจ
3. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) มีใจความสำคัญคือ พฤติกรรมใดที่ได้มีโอกาสกระทำซ้ำบ่อยๆ และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ย่อมก่อให้เกิดความคล่องแคล่วชำนิชำนาญ สิ่งใดที่ทอดทิ้งไปนานย่อมกระทำได้ไม่ดีเหมือนเดิมหรืออาจทำให้ลืมได้
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2. ความเข้าใจ (Comprehend)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5. การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6. การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
1. ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
2. การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3. บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของ ปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
1. การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase)เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง